อาชีพกับ หัก ณ ที่จ่ายต้องถูกหักเท่าไหร่

343 จำนวนผู้เข้าชม  | 

อาชีพกับ หัก ณ ที่จ่ายต้องถูกหักเท่าไหร่

อาชีพกับ หัก ณ ที่จ่ายต้องถูกหัก


สงสัย อาชีพที่เราทำอยู่ นายจ้างหักภาษี ณ ที่จ่ายถูกต้องไหม
มาหาคำตอบกันได้ที่โพสต์นี้เลย #มารวมกันตรงนี้
ตามกฎหมายแล้ว อาชีพทุกอาชีพไม่ว่าจะเป็นงานประจำ หรืองานฟรีแลนซ์ทางผู้ว่าจ้างจะทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ ก่อนจ่ายออกไปให้กับผู้รับจ้าง ทั้งนี้ Contax จะพาไปดูกันค่ะ ว่าอาชีพประเภทไหนจะถูกหักเท่าไร กี่ % บ้าง


งานประจำ ที่รับรายได้เป็นรายเดือน : หักตามการคำนวนประมาณการรายได้
จะต้องนำรายได้ทั้งหมดของพนักงานตลอดทั้งปีมาคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย วิธีการเหมือนการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ถ้าเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท ก็จะได้รับยกเว้นหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือต่ำสุด 0%


งานจ้างทำงาน หรือบริการเป็นครั้งคราว : หักไว้ 3%
หมายถึงบริษัทว่าจ้างงานบุคคลธรรมดาให้ทำอะไรบางอย่าง หรือจ้างให้ทำบริการ เช่น นายหน้าขายของ ได้ส่วนแบ่งค่าคอม จ้างพิมพ์งานโดยใช้คอมพิวเตอร์ของผู้ว่าจ้าง จะใช้วิธีคำนวณเหมือนการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


งานจ้างบริการวิชาชีพอิสระ : หักไว้ 3%
โดยจะกำหนดวิชาชีพตามนี้
โรคศิลปะ เช่น กลุ่มเวชกรรม เภสัชกรรม ทันตกรรม เภสัชกรรม การพยาบาล การผดุงครรภ์ กายภาพบำบัด เทคนิคการแพทย์
ประณีตศิลป์ เช่น งานวาด งานหล่อ งานปั้น
งานออกแบบต่างๆ เช่น สถาปนิก วิศวกร
นักบัญชี เช่น ทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี
ทนายความ เช่น เกี่ยวกับให้ที่ปรึกษา หรือว่าความ


งานจ้างรับเหมาหรือบริการ : หักไว้ 3%
เช่น งานจ้างรีวิวสินค้า งานทำกราฟิก หรือจ้างช่างภาพมาถ่ายรูปโดยใช้กล้องของช่างภาพเอง หรืออะไรก็แล้วแต่ที่ต้องใช้อุปกรณ์ของคนรับจ้างทำ ผู้ว่าจ้างไม่ได้เป็นคนหาให้ จะถือเป็นจ้างรับเหมาหรือบริการ รายได้จะต้องถูก หักภาษี ณ ที่จ่าย 3%


ดารา นักแสดง : หักไว้ 5%
อาชีพเพื่อความบันเทิง อย่างเช่น ดารา นักแสดง นักร้อง
หากยังไม่แน่ใจว่างานที่จ้างไปจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายแบบไหนกันนะ ก็สามารถมา Inbox สอบถาม Contax กันก่อนได้เลย เพื่อความถูกต้อง และไม่ให้เกิดปัญหาภายหลังในการนำข้อมูลส่งสรรพากรค่ะ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้