ภาษีขายของออนไลน์ สิ่งสำคัญ ของคนทำธุรกิจ E-Commerce ที่ไม่รู้ไม่ได้

432 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ภาษีขายของออนไลน์ สิ่งสำคัญ ของคนทำธุรกิจ E-Commerce ที่ไม่รู้ไม่ได้

รู้จัก #ภาษีขายของออนไลน์ สิ่งสำคัญ
ของคนทำธุรกิจ E-Commerce ที่ไม่รู้ไม่ได้
.
ธุรกิจ E-Commerce หรือ #การขายของออนไลน์ “ต้องเสียภาษี” ไม่ว่าจะเป็นการขายเพื่อหารายได้เสริมหรือขายเป็นรายได้หลัก หากมีรายรับเข้ามาก็ “จำเป็นต้องเสียภาษี” แล้วต้องเสียภาษีประเภทไหน มาดูคำตอบกัน
.
บุคคลธรรมดา
1.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- แบบที่ 1 มีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการออนไลน์เป็นหลัก ต้อง ยื่นแบบเสียภาษี 2 ครั้ง/ปี คือ
ยื่น ภ.ง.ด. 94 : นำรายได้ตั้งแต่ 1 มกราคม – 30 มิถุนายน มาคำนวน
ยื่น ภ.ง.ด. 90 : นำรายได้ตั้งแต่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม มาคำนวน
รายได้-ค่าใช้จ่าย-ลดหย่อน = เงินได้สุทธิ
คำนวณภาษีด้วยอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบขั้นบันได (หากมีการชำระภาษีกลางปี ภงด.94 ไว้ ให้นำมาหักออกจาก ภงด.90 ด้วย)
เทียบกับ การคำนวนภาษีจากรายได้พึงประเมิน x 0.5% อันไหนสูงกว่าใช้ยอดนั้นในการชำระ
- แบบที่ 2 มีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการออนไลน์เสริมจากงานประจำ และมีรายได้จากงานประจำ ต้องยื่นภาษี 2 ครั้ง/ปี เช่นกัน
ยื่น ภ.ง.ด. 94 : นำรายได้ตั้งแต่ 1 มกราคม – 30 มิถุนายน (แต่ไม่รวมเงินเดือน)
ยื่น ภ.ง.ด.90 นำรายได้ตั้งแต่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม (รวมเงินเดือนด้วย)
เทียบกับ การคำนวนภาษีจากรายได้พึงประเมิน x 0.5% อันไหนสูงกว่าใช้ยอดนั้นในการชำระ
2.ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT ในกรณีที่มีรายได้เกิน 1,800,000 บาทต่อปี (ไม่นับรายได้จากงานประจำ)
คำนวณได้จาก ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ภาษีขาย – ภาษีซื้อ (ชำระทุกเดือน)
.
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
1.ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยจะต้องเสียภาษีในอัตรา 20% ของกำไรสุทธิ
2.และภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT ในกรณีที่มีรายได้เกิน 1,800,000 บาทต่อปี
คำนวณได้จาก ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ภาษีขาย – ภาษีซื้อ (ชำระทุกเดือน)
หากเราหลีกเลี่ยง หรือไม่จ่ายภาษี ถ้าโดนคิดย้อนหลังอ่วมแน่นอน ซึ่งอาจจะทำให้ธุรกิจล้มพังเลยก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นอย่าลืมเรื่องของภาษีกันน้า คำนวณไม่ถูก ไม่รู้จะเริ่มตรงไหน Inbox มาเลยค่า
ขอบคุณข้อมูลจาก : Settawut Prasit // /www.makewebeasy.com

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้